jump to navigation

11 ความเครียด ของเด็กเตรียมแอดมิชชั่น!!! พฤศจิกายน 8, 2008

Posted by heemaki in ความรู้จิปาถะ.
Tags: , , , ,
add a comment

“คิดให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับผม ชีวิตเราทั้งชีวิต” อาจจะดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่มันก็เป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมากๆจะว่าไปแล้ว มันก็ “เครียด” เหมือนกันนะ ชีวิตเด็กม.ปลายเนี่ย แต่พอผ่านพ้นมันไปแล้ว อาจจะทำให้หวนคิดถึงมันได้อีกเมื่อไหร่ก็ได้ ^^

อดทนอีกนิดนะครับ…..

….อย่างที่ผมเคยบอกไป ช่วงนี้เป็นเวลาเตรียมตัวสอบของแท้แล้ว และจะยิ่งมาคุขึ้นไปอีก เมื่อถึงช่วงเทอม 2 ของม.5 (หรือเพื่อนๆยังไม่รู้สึกร้อนๆหนาวๆกัน – -“) แน่นอนว่า ต้องเกิดทั้งความ “เครียด” และความ “กลัว” เป็นธรรมดา ผมเชื่อเลยว่า อาการแบบนี้ ต้องเคยเกิดขึ้นกับเพื่อนๆแล้วแน่นอนเลย

1.”กลัว” สอบแอดมิชชั่นไม่ติด
เป็นความกลัวพื้นฐานเลย ไม่ว่าจะไปถามเพื่อนๆ รุ่นพี่คนไหนๆ คำตอบก็จะได้เหมือนๆกันว่า กลัวที่จะแอดไม่ติด เพราะเวลาถึงจุดๆนั้นแล้ว คงไม่มีใครสามารถมั่นใจได้ว่า ตัวเองจะแอดติดรึเปล่า (คนที่ไม่กลัวเลย มันคือเทพครับ – -)

เนื่องจากว่า ปีๆหนึ่ง มีนักเรียนสมัครสอบแอดมิชชั่นกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ แต่มหาวิทยาลัยรัฐรับได้แค่ไม่กี่หมื่นคนเอง จำนวนตัวเลขตรงนี้มันคงกดดันให้หลายๆคนเครียดจนทำอะไรไม่ถูกเลยก็ได้

2.”กลัว” อ่านหนังสือไม่ทัน
ผมก็กลัวอยู่เหมือนกันนะ พอเทียบวันที่เหลือ กับจำนวนหนังสือที่ต้องอ่าน แค่เห็นก็แทบจะสลบแล้ว เวลาสอบ ผมเชื่อว่า หลายๆคนคงไม่อ่านแค่ในตำราเรียนอย่างเดียวหรอก ถ้าอ่านแค่ในตำรา เราก็ไม่สามารถไปสู้เพื่อนๆจากทั่วประเทศได้แน่นอน ทั้งหนังสือเก็งข้อสอบ หนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ จะถูกมาสุมๆกันในช่วงใกล้สอบแบบนี้ เห็นแล้วก็น่าท้ออยู่เหมือนกัน

ที่สำคัญ ถ้าเฉลี่ยแล้วต้องอ่านกันวันละ 50 หน้า หลายคนคงแทบกระอักเลือดกันเลยทีเดียว

หลายคนเริ่มเลิกเที่ยว เอาเวลามาทุ่มให้กับการอ่านหนังสือ ถ้าหนักคงถึงขั้นไม่กินข้าวกินปลากันเลยทีเดียว สังเกตได้ง่ายๆเลย ช่วงนี้เพื่อนคนไหนซูบไป หรือน้ำหนักเกิน สันนิฐานได้เลยว่า เขากำลังทั้งใจอ่านหนังสืออย่างหนักอยู่ (ถ้าไม่ใช่จุดประสงค์อื่น เช่นลดน้ำหนัก อกหัก อะไรแบบนี้อ่านะ – -)

บางคนอ่านแบบข้ามวันข้ามคืน ไม่ได้พักผ่อนเลย สมองก็จะล้าเกินไป บางทีอาจจะต้องหามส่งโรง’บาล

ฯลฯ อีกหลายสาเหตุมากมาย ที่เกิดจากการกังวลว่าจะอ่านหนังสือทันรึเปล่า….

เชื่อไหมว่า…ในขณะที่เพื่อนๆกำลังนั่งเล่นคอมฯอยู่

มีหลายคนเริ่มอ่านหนังสือกันแล้ว!

3.”กลัว” เกรดในโรงเรียนออกมาไม่ดี
กลายเป็นความกดดันที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ถึงแม้เราจะตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมสอบมากมายแค่ไหน ถ้าเกรดได้ออกมาไม่ดีก็ต้องจอดเหมือนกัน แต่ที่สำคัญ คะแนนในห้องส่วนใหญ่มาจากการส่งงานแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า ถ้าไม่ส่งงานเลย เกรดไม่ดีก็ไม่มีทางออกให้แน่นอน

ถ้าหากเรากังวลแต่ทำงานส่ง เราก็จะไม่มีเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบ ที่อาจจะมีครั้งเดียวในชีวิตของเรา

ถ้าหากเรามัวแต่อ่านหนังสือเตรียมสอบ แล้วไม่ได้ส่งงาน 20% ตรงส่วนนี้ (GPAX) อาจจะไม่สามารถฉุดคะแนนเราขึ้นมาได้เลยก็ได้

เรียกได้ว่า เครียดทั้ง 2 ทางเลยหล่ะ

4.”เครียด” กิจกรรมในโรงเรียน
กิจกรรมในช่วงนี้ไม่ค่อยอยากให้ทำ ตี่ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่จะทำใช่รึเปล่า?

มันเป็นส่วนสำคัญก็จริงสำหรับคนที่ยังหาตัวเองไม่เจอ แต่พอถึงเวลาแบบนี้แล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงอยากอยู่บ้านอ่านหนังสือมากกว่า ที่สำคัญกิจกรรมบางอย่าง ถ้าทำก็ต้องทำออกมาให้ดีด้วย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เชิดหน้าชูตาให้กับโรงเรียน เวลาในการอ่านหนังสือก็จะถูกแบ่งให้กับกิจกรรมมากขึ้น

ถ้าจะทำกิจกรรมก็ทำได้ครับ แต่คงจะต้องเพลาๆลงบ้างแล้วหล่ะ (ยกเว้นแต่คนจะเอาความสามารถพิเศษของเราตรงนี้ ไปใช้ในการรับตรงได้)

5.”กลัว” ระบบการสอบ
ยิ่งในระบบใหม่นี้ เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นจะคิดจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวังดีๆ

6.”กลัว” เพื่อนๆขยันกันมากขึ้น
ในเวลาใกล้สอบแบบนี้ เพื่อนๆหลายคนก็เริ่มจะลงมืออ่านหนังสือกันอย่างบ้าระห่ำกันเลยทีเดียว (หรือว่าไม่ทำกัน) หากเราไปคุยกับเพื่อนๆช่วงนี้ คงมีแต่คำถามที่ว่า “อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้ว” นั่นจะยิ่งทำให้เรากดดันหนักขึ้นไปอีก เพราะเรารู้ว่า เพื่อนเราอ่านถึงขนาดนี้แล้วหรอ แต่เรายังไม่ถึงไหนเลย ยิ่งทำให้เราเครียดยิ่งขึ้นไปอีก

ช่วงนี้ หลายคนถึงกับมองเพื่อนเป็นคู่แข่งตัวฉกาจกันเลยทีเดียว – -”

7.”เครียด” เรื่องเรียนพิเศษ
ยิ่งมีเวลาน้อย การกวดวิชากลายเป็นเรื่องจำเป็นไปซะแล้ว สำหรับวัยรุ่นยุคนี้

แน่นอนว่า การกวดวิชาแต่ละครั้ง ไม่ใช่ถูกๆเลย โดยเฉพาะ สำหรับคอร์สเตรียมสอบแอดมิชชั่น ทุกที่เริ่ม Start กันที่ 4000 บาทแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า อยากเรียนให้ทัน คงจะต้องลงทุนกันมากหน่อยหล่ะ

ในกรณีแบบนี้มันจะเครียดกันทั้ง 2 ฝ่าย นั่นก็คือ ทั้งเรา ที่เรียนหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน และพ่อแม่ ที่ส่งเงินให้เราเรียนพิเศษ

8.”เครียด” ที่ต้องสอบพร้อม เด็กเทพ กับ เด็กซิ่ล
สำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆแล้ว เราอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนที่ดีเลิศขั้นเทพอย่างเด็กหลายๆคน แน่นอนว่า ถ้าเราหวังคณะดีๆเอาไว้ คงจะต้องเข้าชิงกับเด็กขั้นเทพซะหน่อยหล่ะ โดยเฉพาะคณะที่เรียนยากๆอย่างแพทย์ ซึ่งมีแต่เทพเรียนกัน (แล้วเราเป็นอะไรเนี่ย – -) เพราะฉะนั้น คนที่อยากเป็นหมอคงจะต้องพยายามกันให้มาก มากจนถึงมากที่สุด มากกว่าคนที่คิดว่ายังไงก็สอบติดอยู่แล้ว – –

เด็กซิ่ลก็ถือว่าน่ากลัวพอๆกัน เพราะจะเป็นการเพิ่มประชากรที่สอบแอดมิชชั่นแต่ละปีให้สูงขึ้น แต่ก็อย่าไปถือโทษโกรธเคืองอะไรเลยนะครับผม ไม่ใช่เพราะว่าเขาจะมาแย่งที่นั่งเราหรอก อยากให้เข้าใจว่า คนเราย่อมต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองทั้งนั้น การที่เขาจะซิ่ลก็เป็นสิทธิของเขา เราพยายามในส่วนของเราให้ดีที่สุดก็พอ

9.”เครียด” สอบตรง โควตา
มีหลายคนที่ไม่มั่นใจกับระบบแอดมิชชั่นก็แห่กันมาสอบตรงเป็นจำนวนมาก การรับตรงนั้นสามารถรับนักเรียนได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นอัตราการแข่งขันมันก็จะสูงขึ้นกว่าแอดมิชชั่น ถ้าสอบติดก็โล่งไป ถ้าสอบไม่ติดก็คงต้องมาเครียดกันต่อ

ที่สำคัญมีการจัดสอบตรงก่อนสอบแอดมิชชั่นเสียอีก เรียกได้ว่า คงต้องขยันกันตั้งแต่เนิ่นๆเลยหล่ะ

10.”เครียด” สอบสัมภาษณ์
คงไม่มีใครที่รับตรงได้แล้ว แต่ต้องยืนคอตก เพราะตกสอบสมภาษณ์ใช่รึเปล่า?

ที่เครียดก็คือ เราจะพูดยังไงให้เขาอยากรับเราเข้าเรียน ต้องจัด Port ยังไงให้น่าสนใจ ทำยังไงก็ได้ให้เขาสนใจในตัวเรา ซึ่งก็ถือว่ากดดันอยู่เหมือนกัน เมื่อต้องอยู่ต่อหน้าคณาจารย์ที่มารุมสัมภาษณ์เรา

11.”เครียด” กับผลคะแนน
ถึงแม้ว่าคะแนนสอบของตัวเองจะออกมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครมั่นใจได้เลยว่า คะแนนของเราจะมากพอที่จะเข้าเรียนต่อได้รึเปล่า เพราะขณะที่เราได้คะแนนเท่านี้ ก็ยังมีอีกหลายคนที่ได้คะแนนมากกว่าเรา ไม่แปลกหรอกที่หลายๆคน ถึงแม้ว่าจะได้คะแนนเยอะ แต่ก็ยังกังวลไม่หาย

….11 ความเครียดของเด็กเตรียมแอดมิชชั่น เพื่อนๆว่าไงกันบ้างครับ….

….ช่วงนี้ใกล้สอบปลายภาคแล้วด้วย ตังใจอ่านหนังสือกันด้วยนะครับ….

….อย่าลืมเอาหลักมั่วข้อสอบในบทความเก่าๆผมไปใช้ด้วยหล่ะ อิอิ ^^….

ที่มา:  http://www.dek-d.com

การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สิงหาคม 18, 2007

Posted by heemaki in ม.4.
3 comments

kruheem
คณิตศาสตร์ง่ายๆ สไตล์ครูฮีม ติวผ่านเว็ป ตลุยโจทย์คณิตศาสตร์ และแนวข้อสอบอีกมากมาย เฉลยข้อสอบ a-netและ o-net ทุกปีทุก พ.ศ. โดยครูฮีม www.kruheem.com

 

กลไกการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มี 3 แบบคือ
1. การแพร่ (DIFFUSION)
2. การลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต (ACTIVE TRANSPORT)
3. การลำเลียงโดยการสร้างถุงจากเยื่อหุ้มเซลล์(BULK TRANSPORT)

(เพิ่มเติม…)

อัจฉริยะภาพกับการจัดการความเครียด สิงหาคม 12, 2007

Posted by heemaki in ความรู้จิปาถะ, วิดีโอ.
add a comment

ใกล้เวลาสอบแล้วเด็กๆ หลายคน คงจะเครียดกัน วันนี้ครูเลยนำเสนอวิธีจัดการกับความเครียดกับคุณหนูดีหลายๆคนรู้จักเธอในฐานะผู้ที่ชนะเกมโชว์ อัจฉริยะข้ามคืน ในบทสัมภาษณ์นี้ เราจะมาคุยกับเธอในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งหลายๆคนไม่ทราบมาก่อน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสมอง  

ดูวิดีโอเพิ่มเติมของหนูดี “อัจฉริยะสร้างได้” ในรายการจับเข่าคุย  

ระบบโครงร่างของร่างกาย กรกฎาคม 15, 2007

Posted by heemaki in ม.5.
add a comment

ระบบโครงร่างของร่างกาย 
ระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต
1. พวกที่ไม่มีโครงร่างแข็ง เช่น โปรโตซัว ไส้เดือน แมงกะพรุน พลานาเรีย เป็นต้น
2. พวกที่มีโครงร่างแข็ง
        – โครงร่างแข็งภายนอก(ENDOSKELETION) เช่น แมลง และอาร์โทรปอดชนิดต่างๆ
        – โครงร่างแข็งภายใน(EXOSKELETON) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
(เพิ่มเติม…)

สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีิวิต กรกฎาคม 13, 2007

Posted by heemaki in ม.4.
2 comments

ธาตุทั้งหลายประกอบด้วยหน่วยขนาดเล็กเรียกว่าอะตอม (ATOM)
ภายในอะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานคือ
– นิวเคลียส ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
– อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่เคลื่อนทีวนอยู่รอบๆนิวเคลียส
ตามปกติอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันทุกอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน

พันธะเคมี(CHEMICAL BOND) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. พันธะไอออนิก (IONIC BOND) เช่น พันธะในโมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์(Nacl)
2. พันธะโควาเลนต์(COVALENT BOND) เช่นพันธะในโมเลกุลองก๊าซออกซิเจน(O2)
3. พันธะไฮโดรเจน (HYDROGEN BOND) เช่น แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ (H2O)
สารในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
– สารอินทรีย์ คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่
– สารชีวโมเลกุล คือ สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างสลับ ซับซ้อนแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และ กรดนิวคลีอิก
(เพิ่มเติม…)

ระบบโครงร่างของร่างกาย มิถุนายน 23, 2007

Posted by heemaki in ม.5.
2 comments

ระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต
1. พวกที่ไม่มีโครงร่างแข็ง เช่น โปรโตซัว ไส้เดือน แมงกะพรุน พลานาเรีย เป็นต้น
2. พวกที่มีโครงร่างแข็ง
– โครงร่างแข็งภายนอก(ENDOSKELETION) เช่น แมลง และอาร์โทรปอดชนิดต่างๆ
– โครงร่างแข็งภายใน(EXOSKELETON) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

(เพิ่มเติม…)

สรุปก่อนสอบการสืบพันธุ์ของพืชมีดอก มิถุนายน 22, 2007

Posted by heemaki in ม.6.
5 comments

อวัยวะสืบพันธุ์ของพืชคือ ดอกซึ่งแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ
1. ดอกเดี่ยว เช่น ดอกมะเขือ ดอกชบา และดอกกุหลาบเป็นต้น
2. ดอกช่อ เช่น ดอกทานตะวัน บานไม่รู้โรย เป็นต้น

ส่วนประกอบของดอกไม้
1. ก้านดอก (PEDUNCLE)
2. กลีบเลี้ยง (SEPAL)
3. กลีบดอก (PETAL)
4. อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (STAMEN) ประกอบด้วยอับละอองเรณู (ANTHER) และก้านชูเกสรตัวผู้(FILAMENT)
5. อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (PISTIL) ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย (STIGMA) และก้านชููเกสรตัวเมีย (STYLE)

ข้อควรจำ
– ดอกสมบูรณ์ (COMPLETE FLOWER) คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบ(ทั้ง2-5)
– ดอกไม่สมบูรณ์ (INCOMPLETE FLOWER) คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบ
– ดอกสมบูรณ์เพศ(PERFECT FLOWER) คือดอกที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
– ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (IMPERFECT FLOWER) คือดอกที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้หรือเพศเมียเพียงเพศเดียว
(เพิ่มเติม…)

Hawaii Volcano มิถุนายน 17, 2007

Posted by heemaki in ม.5, วิดีโอ.
add a comment

ภูเขาไฟระเบิด มิถุนายน 17, 2007

Posted by heemaki in วิดีโอ.
add a comment

โครงสร้างภายในของโลก มิถุนายน 17, 2007

Posted by heemaki in ม.5.
add a comment

โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 1024 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5.5 เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ

ภาพที่ 3 คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่ 3

คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

 

ภาพที่ 4 การเดินทางของ P wave และ S wave ขณะเกิดแผ่นดินไหว

ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว (Earthquake) จะเกิดแรงสั่นสะเทือนหรือคลื่นซิสมิคขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทุกทาง เนื่องจากวัสดุภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่นทั้งสองจึงมีความเร็วและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปดังภาพที่ 4 คลื่นปฐมภูมิหรือ P wave สามารถเดินทางผ่านศูนย์กลางของโลกไปยังซีกโลกตรงข้ามโดยมีเขตอับ (Shadow zone) อยู่ระหว่างมุม 100 – 140 องศา แต่คลื่นทุติยภูมิ หรือ S wave ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้ จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 120 องศาเป็นต้นไป